วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดการสารสนเทศ


ให้นักเรียนเพิ่มบทความ เรื่อง การจัดการสารสนเทศ ลงในเว็บบล็อกโดยตอบคำถามต่อไปนี้

1.   ข้อมูล(data) หมายถึงอะไร

           ข้อมูล (อังกฤษdata)หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้.ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำและเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ
           ระบบ การจัดการความรู้ ทั้งหมดได้แก่    
ข้อมูล --> สารสนเทศ --> ความรู้ --> ความชำนาญ
ข้อมูลเหล่าที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เราจะเรียกว่า สารสนเทศ (information)

ข้อมูล -> (กระบวนการประมวลผล) -> สารสนเทศ
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5

2.  สารสนเทศ (information) หมายถึงอะไร 

            สารสนเทศ (information)  เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมายปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการประมวลผลสารสนเทศสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล   
ที่มา :     http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8    

3.  การประมวลผล (processing) หมายถึงอะไร


Processing คือ กระบวนการประมวลผล เรียกสั้นๆ ว่า "Process"

แผนภาพแสดงลำดับการประมวลผลข้อมูล

การประมวลผล(Data Processing) เป็นการประมวลผลทางข้อมูลเป็นการนำข้อมูล ที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ เรียกว่า ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)
ที่มา : http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/raim/in4page1.html

4.  ข้อมูลมีกี่ประเภท  อะไรบ้าง จงอธิบาย

ประเภทของข้อมูล 
ถ้าจำแนกข้อมูลออกเป็นประเภท จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ข้อมูลปฐมภฺมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก

2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น

ที่มา : http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g7/raim/in4page1.html

5.  วิธีการประมวลผลข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีกี่วิธี  อะไรบ้าง  จงอธิบาย



วิธีการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ 7 ประเภท ดังนี้ คือ
          1. วิธีการประมวลผลแบบออฟไลน์  (Off-line Processing)  หมายถึง การประมวลที่มีการทำงานในลักษณะการเตรียมการ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการประมวลผลโดยใช้อุปกรณ์อินพุตและอุปกรณ์เอาต์พุต ทำการบันทึกโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลลงบนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล แล้วนำข้อมูลนั้นส่งเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
       2. วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ ( On-line Processing ) หมายถึง  การประมวลผลที่ใช้ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ห่างกันแต่สามารถติต่อโดยตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ วิธีการประมวลผลลักษณะนี้ เมื่อทำการประมวลผลเสร็จแล้ว จะเห็นผลลัพธ์ทันที ตัวอย่างเช่น ระบบการบริการฝาก-ถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารต่าง ๆ
      3. วิธีการประมวลผลแบบกลุ่ม ( Batch  Processing) หมายถึง  การประมวลผลโดยการจัดรวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผลครั้งเดียว   ซึ่งขั้นตอนการประมวลผล  จะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์
ตัวอย่างเช่น ระบบลงทะเบียนของนักเรียน
  1. นักเรียนทุกคนทำการกรอกแบบฟอร์มการลงทะเบียน
  2. ฝ่ายทะเบียน ทำการรวบรวมการลงทะเบียน
  3. ป้อนข้อมูลจากใบลงทะเบียนทั้งหมด เก็บไว้ในแผ่นดิสเก็ต
  4. ทำการประมวลผลข้อมูลโดยใช้แผ่นดิสเก็ต
  5. จัดทำรายงานต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. วิธีการประมวลผลแบบแบ่งเวลา (Time Sharing Processing) หมายถึงการประมวลผลที่ผู้ใช้สามารถติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์พร้อม ๆ กันได้หลายคน (Multi-user)
ลักษณะการทำงานแบบนี้คอมพิวเตอร์   จะมีหน่วยประมวลผลกลางเพียงตัวเดียวสามารถทำงานในเวลาหนึ่ง ๆ ได้ 1งานเท่านั้น แต่ใช้เทคนิคการแบ่งเวลาให้ผู้ใช้แต่ละคนหมุนเวียนกันไปอย่างต่อเนื่อง เช่น แบ่งเวลาให้คนละ 0.05 วินาที ซึ่งเร็วมาก ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนรู้สึกเหมือนทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียเวลารอคอย
  5. วิธีการประมวลผลแบบเวลาจริง  ( Real Time Processing )  หมายถึง การประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันที ตัวอย่างเช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ
 6.วิธีการมวลผลแบบหลายโปรแกรมหรือมัลติโปรแกรมมิง ( Multiprogramming ) หมายถึง  การประมวลผลที่ให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนสามารถทำงานพร้อมกันได้ โดยการแบ่งความจำสำรองออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า Partition โดยที่งานของผู้ใช้แต่ละงาน จะใช้หน่วยความจำส่วน Partition ที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งขนาดของ Partition ที่กำหนดให้เท่านั้น ซึ่งขนาดของ Partition ไม่จำเป็นต้องเท่ากันหลักการทำงานของวิธี การประมวลผลแบบหลายโปรแกรม  เนื่องจากหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วในการทำงานมากกว่าหน่วยรับข้อมูล  และหน่วยส่งข้อมูลออก ดังนั้น  การทำงานหนึ่ง ๆ จะเกิดเวลาว่างของหน่วยประมวลผลกลาง ระหว่างรอรับข้อมูลเข้าหรือรอข้อมูลออกดังนั้น การคิดระบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหมุนเวียนหลาย ๆ  งาน โดยใช้ช่วงเวลาว่างของหน่วยประมวลผลกลาง ขณะที่ทำงานใดรอข้อมูลเข้าหรือรอการส่งข้อมูลออกการทำงานลักษณะงานลักษณะนี้ เรียกว่า การทำงานแบบหลายโปรแกรม
 7.วิธีการประมวลผลแบบมัลติโพรเซสซิง (Multiprocessing) หมายถึง การประมวลที่ใช้หน่วยประมวลผลหลาย ๆ ตัว ทำงานร่วมกันพร้อม ๆ กัน เพราะงานทุกอย่างต้องการความเร็วเป็นพิเศษในการประมวลผล ทำได้โดยการติดตั้งหน่วยประมวลผลกลางเพิ่มเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์หากหน่วยประมวลผลกลางใดเสีย ระบบก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้ระบบการประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Data Processing)
ระบบการประมวลผลแบบกระจาย มีลักษณะ ดังนี้ คือ
  1. มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันมากกว่า 1 เครื่อง
  2. คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์เครื่อง อื่น ๆ ได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้เช่นกัน
  3. คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง
  4. ข้อดีของการประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย คือมีความเร็วในการประมวลผลข้อมูลและมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง หากดคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหาย ก็จะเสียหายเฉพาะข้อมูลในเครื่องนั้น ข้อมูลส่วนใหญ่ในระบบยังคงใช้งานได้
  5. ข้อเสียของการประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย คือเนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง อาจทำให้เกิดปัญหาการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน หรือไม่ตรงกัน และเครื่องมือในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างเครื่องอาจเข้ากันไม่ได้
ที่มา : http://61.19.212.45/~weerasak/StudentProject/Sudarut2553/htdoc/7-5.html

6.  สารสนเทศที่ดีมีลักษณะอย่างไร


คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
     
ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย
2.ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้วยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย
3.ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงานสารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญเช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไปก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน100เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิดดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่องการขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ 
4.การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้นการสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากเช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
5.ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด

ที่มา : http://mit.pbru.ac.th/knowledge/index.php?option=com_content&view=article&id=133&Itemid=108

7.  ขั้นตอนของการจัดการสารสนเทศ มีอะไรบ้าง จงอธิบาย



         การเก็บรวบรวมข้อมูล
สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านกรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูล
 การตรวจสอบข้อมูล
เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
 การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่

จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการ
ในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
 การจัดเรียงข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง

การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
 การคำนวณ
ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม
 การทำรายงาน
การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ
 การจัดเก็บ
ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้

เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม
 การทำสำเนา
หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
 การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่ายเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูลบางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บ สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง
ที่มา :http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__9.html

8.  ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) หมายถึงอะไร

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)


 ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์(Output)ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ(Feedback)เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้าระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual)หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001) 
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล  (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)

ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)


สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง 

ที่มา :http://blog.eduzones.com/dena/4892


9.  องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 5 องค์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง  จงอธิบาย




ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ


1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)

2. ซอฟต์แวร์

3. ข้อมูล

4. บุคลากร

5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน


                                                        
ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้

บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ

ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ


ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่
งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ 



ที่มา :http://bankcom.blogspot.com/2008/01/blog-post_21.html


10.   สารสนเทศ มีกี่ระดับ  อะไรบ้าง  จงอธิบาย

สารสนเทศมี 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับบน เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกับแผน นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ เป้าหมาย
และกลยุทธ์ขององค์การ
2. ระดับกลาง เป็นสารสนเทศสำหรับผู้จัดการ หรือผู้บริหารระดับกลางขององค์การที่มีการแปลงกลยุทธ์ ที่จะนำ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ
องค์การ โดยแปลงกลยุทธ์ออกมาเป็นแนวปฏิบัติ หรือแผนปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมต่างๆ
3. ระดับล่าง เป็นสารสนเทศของผู้ปฏิบัติงานที่มีกรรมวิธีการดำเนินงาน หรือการปฏิบัติงานตามแนวทางที่ได้ มีการกำหนด โดยผู้บริหารระดับกลาง

ที่มา :http://bankcom.blogspot.com/2008/01/blog-post_21.html